COMPUTER

  ปัจจุบันเทคโนโลยี่ด้าน Computer และ IT พัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้ง เป็นธรรมดาเวลาที่เราซื้อของวันนี้ ในวันถัดไปก็อาจจะตกรุ่นไปเลยก็ได้หากเราไม่ได้ติดตามอัพเดทสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของตลาด Computer แต่ก็เช่นเดียวกันคงน้อยคนที่จะสามารถติดตามข่าวสารได้ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นอย่างน้อยเราควรจะศึกษาการเปลี่ยนแปลงบ้างเป็นครั้งคราว บทความนี้จะกล่าวถึงอุปกรณ์ Computer PC เป็นหลัก เริ่มตั้งแต่  Mainboard CPU RAM VGA Hard Disk เป็นต้น


Mainboard

ปัจจุบันมีเมนบอร์ดหลายรุ่นหลายยี่ห้อผลิตออกมาแข่งขันกัน แต่ถ้าจะจำแนกให้พอรู้จักและเข้าใจง่ายๆ เพราะการเลือกซื้อเมนบอร์ดต้องคำนึงถึง CPU ที่เราต้องการนำมาใส่ ก็คงมีแค่ 2 ค่าย คือ INTEL และ AMD ซึ่งแต่ละค่ายถ้าจะจำแนกให้แยกย่อยลงไปก็สามารถแยกเป็นแบบซ๊อคเก็ต ต่างๆ ดังนี้

INTEL  ที่ยังคงมีใช้อยู่ตอนนี้คือ
  • Socket 478 เมนบอร์ดรุ่นนี้จะซัพพอร์ท CPU รุ่นเก่าๆของ Intel เช่น Celeron , Pentium4 ซึ่งCPUดังกล่าวไม่มีขายแล้ว  แต่ยังคงมีใช้อยู่บ้าง 
  • Socket 775 เมนบอร์ดรุ่นนี้จะซัพพอร์ท CPU ตั้งแต่ Celeron D ,Pentium D, Dual Core , Core 2 Duo สูงสุดคือ Core 2 Quad 
  • Socket 1156 เมนบอร์ดรุ่นนี้จะซัพพอร์ท CPU ตระกูลใหม่ ตั้งแต่รหัส i3 , i5 ,  i7 รหัสต่ำกว่า 920 (ปัจจุบัน ไม่มีขายแล้วเนื่องจากเปลี่ยน นวัฒกรรมใหม่เป็น 1155 )
  • Socket 1366 เมนบอร์ดรุ่นนี้จะซัพพอร์ท CPU Core i7 920 เป็นต้นไป และ CPU Sandy Brigde-E
  • Socket 1155 เป็นเมนบอร์ดรุ่นล่าสุด ซึ่งใช้ชิปเซ็ตในนาม Sandy Bridge ใช้กับ CPU Intel Core Processors เจอเนอเรชั่น 2 ที่ออกมาใหม่ เมื่อต้นปี 2011
ข้อแตกต่าง Socket LGA 1366 กับ Socket LGA 1156 นอกจากจำนวนขาไม่เท่ากันแล้วยังมี
  1. LGA 1156 กินไฟน้อยกว่า กินไฟระดับ TDP อยู่ที่ 95 วัตต์ ส่วน LGA 1366 จะกินไฟในระดับ TDP ที่ 130 วัตต์
  2. LGA 1156 ระบบบัส แบบเดิม DMI แต่ให้ความเร็วที่สูงมากขึ้น สูงสุดได้ 2.0 GHz ส่วนของ LGA 1366 ใช้ระบบใหม่แบบ QPI ส่งข้อมูลได้สูงสุด 6.4 GT/s หรือเทียบเท่า 3.2 GHz
  3. LGA 1156 แรม DDR3 แบบ Dual-Channel ส่วน LGA 1366 แรม DDR3 แบบ Triple-Channel เมนบอร์ด LGA 1366 เลยมีช่องใส่แรมเยอะกว่า
AMD   ถึงแม้ เอเอ็มดีจะก้าวตาม อินเทลก้าวหนึ่งก็ตามแต่เทคโนโลยีก็ไม่ได้น้อยหน้าไปมากนัก หากสังเกตดู เอเอ็มดีจะ แข่งขันกับ อินเทลในเรื่องราคา คือ ในซีพียูที่ประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน ราคาจะต่ำกว่า อินเทลอย่างเห็นได้ชัด 
  • Socket 938 ใช้กับ CPU Sampron LE / Athlon II X2 240-250 / Athlon II X3 425-440 / Athlon II X4 925-965 / Phenom II X2 550 560 / Phenom II X4 925-965
  • Socket 940 ใช้กับ CPU ตระกูล Athlon X2 / Phenom X3 / Phenom II X4 940
CPU (Central Processing Unit) หน่วยประมวลผลกลาง
CPU ที่ใช้ใน Computer PC และ Notebook ปัจจุบันมีอยู่ด้วยกันสองค่าย คือ INTEL และ AMD
  • CPU INTEL


ซีพียูของอินเทล ที่ผลิตออกมาขายปัจจุบันมีหลายรุ่นด้วยกัน การจำแนกที่ง่ายก็แยกเป็นแบบ Socket ต่างๆ ซึ่งมีด้วยกัน 5 Socket ด้วยกัน
1 Socket 478 จะเป็น ซีพียู ตระกูล Celeron และ Pentium 4
2 Socket 775 จะมีตั้งแต่รุ่น Celeron D , Pentium D , Dual Core , Core 2 Duo , Core 2 Quad
3 Socket 1156 เป็นซีพียูรหัสใหม่ คือ Core i3 , Core i5 , Core i7
4 Socket 1366 ซีพียู รหัส 920 เป็นต้นไปจะใช้Socket 1366
5 Socket 1155 เรียกว่า Intel Core Processors genaration 2 ตัวอย่างเช่น i5-2400S , i5-2500S , i5-2300 , i5-2400 , i5-   2500 , i7-2600S , i7-600 , i7-2600K เป็นต้น

เปรียบเทียบ CUP ระหว่าง Dual Core กับ Core 2 Duo

Dual Core  จะแบ่งการประมวลผลออกเป็น 2 คอร์ใน CPU ตัวเดียว แต่ละคอร์จะมี L2 เป็นของ
ตัวเอง คอร์ละ 1M ก็หมายความว่ามี L2 แบบอิสระไม่ยุ่งเกี่ยวกัน

Core 2 Duo นั้นมีหลักการคล้าย ๆ กับ Dual Core แต่ว่าเนื่องจาก L2 ที่แยกอิสระของ แบบแรกนั้น จะมี
ปัญหาตรงที่ หากชิปประมวลผลตัวแรกใช้ L2 ครบ 1M แต่ขณะเดียวกันชิปอีกตัวใช้ไปแค่ 128k ก็หมาย
ความว่า ชิปตัวแรกจะต้องไปดึงแรมหรือ L3 มาใช้เพราะว่า L2 หมดแล้ว ดังนั้น จุดหักเหของ Core 2 Duo จึงกำเนิดขึ้นมา คือ รวบเอา L2 1M ทั้ง 2 ตัวมาเป็น 2M ซะเลยตัวเดียว ชิปประมวลผลก็จะใช้ L2 ร่วมกัน เพื่อขจัดปัญหา การใช้ L2 อย่างที่กล่าวข้างต้น

ตรวจสอบ ซีพียูรุ่นต่างๆของ Intel

  • CPU AMD
ซ๊พียูของ AMD ที่มีขายอยู่มีแค่ 2 Socket คือ Socket 940  และ 938  แต่ถ้านับที่ยังพอหาดูได้ก้อจะแบ่งได้ 4 แบบคือ
  1. Socket 754 เคยเป็นที่นิยมในอดีต และหาดูได้ยากซักหน่อย
  2. Socket 939 รุ่นนี้ออกมาได้ไม่นานก้อ ออกรุ่น 940 มาแทน
  3. Socket 940 สำหรับซีพียู 940 ที่เห็นมีขายคือรุ่น  Athlon X2 5200+ และ Phenom X3 8650
  4. Socket 938 เป็นสถาปัตยกรรมใหม่ของ AMD มีด้วยกันหลายรุ่นดังนี้
- AMD Athlon II    X2 240 , 245 , 250           
- AMD Athlon II    X3 425 , 435 , 450
- AMD Athlon II    X4 620 , 630
- AMD Phenom II  X2 545 , 555
- AMD Phenom II  X4 925 , 945 , 955 , 965
- AMD Phenom II  X6
- AMD Sempron LE-140 (ซีพียู Sigle core )


วิธีดูซีพียูของ AMD สัญลักษณ์ X2 X3 X4 คือจำนวน Core ของซีพียู   
X2 = 2 Core , X3 = 3 , Core X4 = Quad Core , X6 = 6 Core



สำหรับซีพียูรุ่น Phenom II X6 เป็นเทคโนโลยี Turbo Core ที่เร่งการทำงานของซีพียูแบบอัตโนมัติลงในซีพียู เป็นซีพียูสำหรับเดสทอปตัวล่าสุดของ AMD ซึ่งทำงานคล้ายๆกับ เทคโนโลยี Turbo Boost ที่อยู่ในซีพียูของอินเทลตระกูล Core i5 และ i7

ความแตกต่างของ CPU 32bit and 64 bit

ใน Computer Architecture นั้น 64-bit เป็นการขยายของการใช้ integer,
floating point, memory address หรือ ชนิดข้อมูลอื่นๆ ที่ต้องการใส่ข้อมูลที่มี
ขนาดความกว้างของข้อมูลมากถึง 64 bit (8 octets) โดยที่รายละเอียดของ CPU และ
สถาปัตยกรรม ALU บน register, address buses, หรือ data buses ต้องมีขนาดเท่านั้น
ด้วย
โดยในปี 2004 ได้มี CPU 64-bit CPU เป็นพื้นฐานสำหรับตลาดระดับ Server และ
เตรียมพร้อมสำหรับการเข้าสู่สายการผลิตหลักของตลาด Personal Desktop โดยการเข้ามา
ของ AMD64 (AMD), EM64T (Intel) และ PowerPC 970 (G5 จาก IBM)
ความเหมือนที่แตกต่างของ CPU 32-bit และ 64-bit
นับแต่อดีตถึงปัจจุบันปริมาณข้อมูล ที่ใช้ในการประมวลผลต่อ 1 รอบสัญญาณนาฬิกามี
จำนวนมากขึ้น อย่างไม่มีที่สิ้นสุด การเปลี่ยนแปลงจาก 16-bit ในอดีตเมื่อ 10 ปีก่อน
มา 32-bit ในปัจจุบัน และกำลังก้าวเข้าสู่โลก 64-bit ได้สร้างปรากฎการณ์ใหม่ให้กับโลก
คอมพิวเตอร์ได้อย่างมากมาย ทั้งในด้านจำนวนข้อมูลที่ส่งต่อในระบบภายในที่มีจำนวนมากขึ้น
และความเหมือนจริงในการทำงานด้านมัลติมีเดียต่าง ๆ มากมาย ยังผลให้ ข้อมูลที่เข้า
สู่กระบวนการประมวลผลนั้นมากตามไปด้วย ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องในส่วนของความเร็ว
ในการประมวลผลแต่ประการใด เป็นเพียงเพิ่มความหนาแน่นของข้อมูลต่อชุด
ในการประมวลต่อครั้งเท่านั้น
จากที่ได้กล่าวไปแล้วนั้นว่าความแตกต่างในทั้งสอง ไม่ได้แตกต่างกันที่ความเร็ว ขยายความ
ให้เข้าใจได้ง่ายคือ สัญญาณนาฬิกายังคงมีความเร็วเท่าเดิม แต่ความหนาแน่นของข้อมูล
ต่อชุดคำสั่งมีมากขึ้นนั้น เราอาศัยการเปรียบเทียบที่ memory addrees
ระหว่าง 32-bit และ 64-bit โดยที่ 32-bit นั้นมี memory address ได้ 4Gbytes เท่านั้น
แต่ใน 64-bit นั้น มี memory address ถึง 16 Ebytes (~17,179,869,184 Gbytes)
ทำให้เกิดความได้เปรียบในด้านความเร็วในการทำงานใน software ที่ต้องการ
การไหลของข้อมูลในปริมาณที่มาก ๆ เช่นการเล่นเกม, ระบบฐานข้อมูลใหญ่ ๆ ,
ระบบที่ต้องการความละเอียดต่อการประมวลผลมาก ๆ เช่นการ Simulate, Render,
Retouch, Lenear Editing ฯลฯ แต่หากเป็น software โดยทั่วไปแล้ว แทบจะไม่เห็นความแตกต่าง แต่อย่างใด
"ปัญหาของระบบ 32-bit ที่ทำให้เกิด 64-bit ขึ้นมาในปัจจุบันคือ ขนาดของหน่วยความจำหลัก
(RAM Memory) มีจำกัดเกินกว่าจะยอมรับได้แล้ว"
CPU 32-bit นั้นมีความต้องหน่วยความจำหลักได้มากสุดที่ 4Gbytes เท่านั้น แล้ว 4Gbytes
มาจากไหนหล่ะ ?

คำตอบคือ 32-bit register นั้นมาจาก 2 ยกกำลัง 32 หรือมีขนาดที่ 4Gbytes
ของหน่วยความจำหลัก (RAM memory) นั้นเอง
นั้นหมายความว่า CPU 64-bit นั้นมีความต้องหน่วยความจำหลักได้มากสุด
ที่ ….. 16 Ebytes * (~17,179,869,184 Gbytes) นั้นเอง ซึ่งมาจาก 2 ยกกำลัง 64
หรือมีขนาดที่ 16 Ebytes ของหน่วยความจำหลัก (RAM memory)
* Ebytes อ่านว่า เอ๊กซาไบต์ (Exabyte)
2 กำลัง 32 = 4,294,967,296 bytes
=~ 4 Gbytes
2 กำลัง 64 = 18,446,744,073,709,551,616 bytes
= ~ 16 Ebytes หรือ 17,179,869,184 Gbytes

แล้วมันแตกต่างกันตรงไหนในด้านการประมวลผล ?
การประมวลผลจริง ๆ แล้วไม่แตกต่างกันในเชิงความเร็วมากนัก ดังที่ได้กล่าวไแล้ว
แต่จะแตกต่างนั้นอยู่ที่ ความหน่าแน่นของข้อมูลที่ประมวลผลต่อสัญญาณนาฬิกามีมากขึ้น
ตัวอย่างเช่น

* คุณชมภาพยนต์ในจอคอมพิวเตอร์จากแผ่น VCD (เทียบได้กับ 32-bit) และ DVD
(เทียบได้กับ 64-bit) ถ้าคุณได้รับชมผ่าน VCD ในจอคอมพิวเตอร์คุณได้ภาพที่เล็ก
และไม่ละเอียด เท่ากับ DVD ที่มีภาพที่ละเอียดกว่า และยังขยายขนาดของภาพให้ Full Srceen ได้โดยภาพไม่แตกเหมือน VCD
* คุณเล่นเกม ภาพที่ได้จะมีมิติมากขึ้นกว่าเดิม แสงเงาต่าง ๆ จะสมจริงมากขึ้น
แต่ไม่ได้ทำให้การประมวลเร็วขึ้นแต่อย่างใด * ฯลฯ

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องขึ้นอยู่กับ Software ที่นำมาทำงานร่วมกับ CPU 64-bit ด้วยว่า
สนับสนุนการทำงานนี้หรือไม่ มิเช่นนั้นก็ไม่สามารถใช้งาน CPU 64-bit ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพดังที่ตั้งใจไว้

สรุปให้เข้าใจง่าย ๆ ว่า 64-bit เป็นการทำให้การประมวลผลต่อครั้งมีความละเอียดมากขึ้น
ไม่ใช่เร็วมากขึ้น อย่างที่ หลาย ๆ คนเข้าใจ แต่การเร่งความเร็วในการประมวลผล
น่าจะเป็นในส่วนของ Dual Core CPU มากกว่า แต่การทำให้ Dual Core CPU
สามารถใช้งานได้ดีและเต็มประสิทธิภาพนั้น จำเป็นอย่างมากที่ software ที่เราใช้ต้อง
สนับสนุนระบบ Multiprocessor ด้วยเช่นกัน


ปล. เคยเห็นบางท่านเปรียบเทียบ window 32 bit กับ 64 bit ไว้ว่า มันก็เหมือนถนน 2 เลน กับ ถนน 4 เลน

ต่างกันที่ถนน 4 เลนทำให้รถวิ่งได้มากขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่ารถจะวิ่งได้เร็วขึ้น

From : http://www.ran-ya.com


 
RAM (Random Access Memmory)

เป็นหน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์  ซึ่งหน่วยความจำแรม ทำหน้าที่ในการเก็บชุดคำสั่งและข้อมูลที่ระบบคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่ เป็นการเก็บข้อมูลแบบชั่วคราวเฉพาะตอนที่เปิดคอมพิวเตอร์อยู่เท่านั้น เมื่อปิดเครื่องลงข้อมูลก็จะหายไป

ประเภทของแรม ตั้งแต่อดีตเป็นต้นมามีอยู่หลายประเภทด้วยกันดังนี้
  • DRAM        
  • Fast Page RAM
  • EDORAM
  • RDRAM
  • SDRAM    (Synchronous Dynamic Random-Access Memory) ส่งข้อมูลได้ทิศทางเดียวใน 1 สัญญาณนาฬิกา
  • DDR RAM (Double Data Rate SDRAM) ส่งข้อมูลได้ 2 ทิศทางใน 1 สัญญาญนาฬิกา คือเร็ว 2 เท่าของ SDRAM
  • DDRII   
  • DDRIII
ปัจจุบันแรมที่นิยมใช้และมีขายอยู่ในท้องตลาดมีเพียง 3 ประเภทคือ DDR / DDRII / DDRIII

คุณสมบัติและความแตกต่างของแรมทั้ง 3 ประเภท
1 DDR   ความเร็วบัสเริ่มที่ 
  • 266  PC-2100
  • 333  PC 2700
  • 400  PC 3200   
              มีพินทั้งหมด 184 พิน สามารถรับ และส่งข้อมูลพร้อมกันได้ใน 1 สัญญาณนาฬิกา

2  DDRII   ความเร็วบัสเริ่มที่
  • 533 PC2 4200
  • 667 PC2 5300
  • 800 PC2 6400  
             มีพินทั้งหมด 240 พินสามารถทำเป็น Dual Channel เพื่อเพิ่ม Bandwidth ให้กับการส่งข้อมูลทำให้ทำงานได้เร็วขึ้น

3 DDRIII  ความเร็วบัสเริ่มที่
  • 1066 PC3 8500
  • 1333 PC3 10664
  • 1600 PC3 12800
  • 2000 PC3 16000
              มีพินทั้งหมด 240 พินเช่นกัน ทำ Triple Channel ได้ แต่บอร์ดต้องรองรับด้วยเช่นกัน

Dual Channel คือ
 การเพิ่ม Bandwidth ในการส่งข้อมูล โดยปรกติแล้ว แรมจะมีช่วงกว้างข้อมูล 64Bit การทำ Dual channel จะเป็นการสร้างอนุกรมให้กับการเชื่อมต่อแรม ทำให้ Bandwidth เพิ่มขึ้นเป็น 128Bit

สำหรับแรมแบบ 64Bit สามารถคำนวณกลับเป็นอัตราการโอนถ่ายได้ดังนี้
64/8 ทำให้กลายเป็น Byte ซะก่อนจะออกมาเป็น 8 แล้วคูณด้วย บัสของ RAM
เช่น แรมบัส 400 ก็เอา 8x400 ออกมาเป็น 3200 หรือเท่ากับ 3200 MByte/s
ส่วนการทำ Dual Channel จะต้องเอา 128/8 ได้เป็น 16x400 กลายเป็น 6400 MByte/s

Display Card  การ์ดแสดงผล หรือ การ์ดจอ

การ์ดจอ จะทำหน้าที่ในการประมวลผลด้านกราฟฟิคเพื่อแสดงผลออกทางจอภาพ
ซึ่งหน้าที่หลักของการ์ดจอ คือ หลังจากซีพียูประมวลผลข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ก็จะส่งมาให้ชิปบนการ์ดจอ (GPU Graphics processing unit ) หรือ ชิปเร่งความเร็ว 3 มิติ ทำการประมวลผลข้อมูลนั้นๆให้สามารถแสดงผลภาพเคลื่อนไหวแบบ 3 มิติ ได้อย่างรวดเร็วและสวยงาม