หลังจากที่ อินเทลได้เปิดตัวซีพียูรุ่นใหม่ออกมาซึ่งเป็นตระกูล Intel® Core™ Processor 2010 วันนี้อินเทลก็ได้พัฒนาขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง โดยจะเปลี่ยนสถาปัตยกรรมของตัวซีพียูใหม่ ซึ่งรหัสในการพัฒนาในรุ่นนี้มีสมญานามว่า " Sandy bridge " ซี่งซีพียูรุ่นนี้ยังคงใช้กระบวนการผลิตอยู่ที่ 32nm (นาโนเมตร) หากดูในรูปภาพด้านล่างจะสามารถทราบได้ถึงรูปแบบการเปลี่ยนแปลง สถาปัตยกรรมตั้งแต่อดีต จนถึงรุ่นต่อไปในอนาคต ซึ่งรูปแบบการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีและสถาปัตยกรรมของอินเทลในปัจจุบันจะเปลี่ยนแปลงทุกๆปี (ก่อนนี้จะเปลี่ยน 2 ปีต่อครั้ง) รูปแบบการตลาดที่อินเทลใช้สำหรับนำเสนอเรียกว่า TICK-TOCK ซึ่งอิงมาจากนาฬิกานั่นเอง สำหรับ Sandy Bridge ได้เข้ามาอยู่ในช่วงของ TOCK ดังภาพ
มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง ?
2nd Generation Intel® Core™ หรือ 2nd Generation Core Microarchitecture หมายถึงยุคที่สองของ Core Microarchitecture การเปลี่ยนแปลงต่างๆของรุ่นดังกล่าวยังคงใช้พื้นฐานของ Intel Core Microarchitecture แบบเดิมอยู่เพียงแค่เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้เพิ่มมากขึ้น ส่วนภายนอกก็จะเปลี่ยน Socket ใหม่เป็น LGA 1155 ทั้งหมดทั้ง Core i3 i5 i7 และรหัสของซีพียูจะเปลี่ยนจากเดิมที่มี 3 หลัก เป็นตัวเลข 4 หลัก เช่น Core i3 2100, i5 2300, i7 2600 Intel® Turbo Boost Technology 2.0
เทคโนโลยีเพิ่มความเร็วอัตโนมัติ ซึ่งจะสามารถเพิ่มได้มากขึ้นกว่ารุ่นก่อน และใช้พลังงานเท่าเดิมIntel® Hyper Treading
ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไร ยังคงมีอยู่ในซีพียูทุกๆรุ่นใน Sandy bridgeIntel® HD Graphics 3000/2000
เทคโนโลยีด้านกราฟิกที่ฝังอยู่ในตัวซีพียู กราฟิกรุ่นนี้ได้เพิ่มเข้าไปในซีพียูทุกรุ่นซึ่งต่างจากเดิมที่มีอยู่เพียงในตระกูล Core i3 และ i5 และได้พัฒนาขึ้นให้มีประสิทธิภาพในการประมวลผลได้มากขึ้นเป็น 2 เท่า ซึ่งเทียบได้กับการ์ดจอแยก ระดับสตรีมเลยทีเดียว แต่การที่จะทำให้กราฟิกสามารถประมวลผลได้เต็มประสิทธิภาพ จำเป็นที่จะต้องมี Memory หลัก (RAM) มากถึง 4 GB ขึ้นไป และใช้ระบบปฎิบัติการ Windows 7 64bit Intel® Quick Sync Video (New)
เทคโนโลยีใหม่ที่ช่วยให้สามารถจัดการแก้ไข ตัดต่อ แปลงไฟล์วีดีโอได้เร็วยิ่งขึ้นถึง 3 เท่า เช่นไฟล์ HD ความละเอียดสูงความยามประมาณ 4 นาที สามารถแปลงลงไอพอด (iPod) โดยใช้เวลาเพียงแค่ 16 วินาที
Intel® Advanced Vector Extensions (AVX)
ชุดคำสั่งใหม่ที่มีอยู่ในเฉพาะ Intel® Core™ processor เจอเนอเรชั่น 2 ช่วยเพิ่มความสามารถในการประมวลผลภาพ 3 มิติ ในโปรแกรมที่ทำการตัดต่อวีดีโอความละเีอียดสูง และแอพพลิเคชั่นที่มีความละเีอียดสูงและซัพซ้อนที่ต้องการใช้การประมวลผลเรื่องจุดทศนิยม เช่นโปรแกรม CAD/CAM หรือโปรแกรมคำนวนบัญชีชั้นสูง ทำให้สามารถทำงานต่างๆ ได้รวดเร็วขึ้นถึง 2 เท่า
Built-in Visuals
อินเทลเรียกชิปเซ็ต Cougar Point สำหรับแพลตฟอร์ม Sandy bridge กลับคืนเพื่อแก้ไขปัญหา
หลังจากอินเทลเปิดตัวซีพียูรุ่น 2nd Generation Intel® Core™ ได้ไม่นาน อินเทลก็ต้องประสบกับปัญหาใหญ่หลวง ถึงกับต้องยุิติการขายซีพียูรุ่นล่าสุด อันเนื่องมาจากมีข้อผิดพลาดในกระบวนการผลิดทำให้ซีพียูและชิปเซ็ตบนเมนบอร์ดทำงานผิดพลาด ทำให้การควบคุมการทำงานในส่วน SATA มีปัญหา สำหรับปัญหาดังกล่าวไม่ไ้ด้เกิดที่ตัวซีพียูแต่อย่างใด แต่เป็นปัญหาของชิปเซ็ตบนเมนเบอร์ด เพราะฉะนั้นเมนบอร์ด Socket 1155 ของทุกๆค่าย รวมถึงโน้ตบุ๊คบางรุ่น จึงถูกเรียกกลับทั้งหมด เพื่อรอการแก้ไขจากทางอินเทล
อินเทลแก้ไขปัญหาและส่งคืนชิปเซ็ตให้ OEM
ข่าวดีสำหรับลูกค้าอินเทล ตอนนี้ปัญหาเรื่องของชิปเซ็ต Sandy bridge ได้รับการแก้ไขและส่งคืนให้ลูกค้าเป็นที่เรียบร้อย สำหรับเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ สามารถสังเกตได้ที่ข้างกล่อง จะมีคำว่า B3 หรือ REV.3.0 หรือจะดูใน BIOS ก็ได้เช่นกัน
ส่วนในวินโดว์สามารถเช็คได้ด้วย CPU-Z เวอร์ชั่น 1.57 ขี้นไป
ข้อสังเกต
Chipset เป็น Intel Sandy Bridge Rev. 09
Southbridge เป็น Intel HM65 Rev. 05 หรือ B3 หากยังเป็นรุ่น ฺB2 แสดงว่ายังไม่ได้รับการแก้ไข