เทคนิคการชาร์จแบตเตอรี่โน้ตบุ๊กให้คุ้มค่า


แบตเตอรี่โน้ตบุ๊คที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันจะเป็นชนิด Lithium Ion (Li-on) ซึ่งมีจุดเด่นตรงที่สามารถชาร์จไฟได้ตลอดเวลา โดยไม่เกิดปัญหา Memory Effect

Memory Effect คือกรณีที่แบตเตอรี่ถูกใช้ไฟไม่หมดประจุแล้วมีการนำไปชาร์จไฟใหม่อยู่บ่อย ๆ ทำให้แบตเตอรี่ไม่สามารถจำค่าสูงสุดที่มันเคยเก็บไว้ได้ เป็นสาเหตุให้แบตเตอรี่ค่อย ๆ เสื่อมลงอย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่ปัญหา Memory Effect จะมีผลกระทบต่อแบตเตอรี่ชนิด Ni-Cad แต่สำหรับ Li-on และ Li-Polymer จะไม่มีผลกระทบแต่อย่างใด

(โน้ตบุ๊คบางยี่ห้ออาจจะเลือกใช้แบตเตอรี่ชนิด Lithium Polymer หรือตัวย่อ Li-Polymer ซึ่งมีคุณลักษณะใกล้เคียงกัน แต่น้ำหนักเบากว่า)

แบตเตอรี่แบบ Li-on และ Li-Polymer จะนับการชาร์จเป็นรอบ (Cycle) โดยจะแบ่งแรงดันออกเป็น 3 ระดับคือ
1C หมายถึง การชาร์จ ณ ระดับพลังงานแบตเตอรี่มากกว่า 65-70%
2C หมายถึง การชาร์จ ณ ระดับพลังงานแบตเตอรี่ 35-60%
3C หมายถึงการชาร์จ ณ ระดับพลังงานต่ำกว่า 30%

เทคนิคการชาร์จแบตเตอรี่ให้คุ้มค่า


 1.จะชาร์จเมื่อไหร่ ?

จากกราฟแกนแนวตั้งเป็นความจุ และแกนแนวนอนเป็นจำนวนรอบ (Cycle) ของการชาร์จ หากชาร์จแบตเตอรี่ที่ระดับ 3C จะสามารถชาร์จได้ประมาณ 300 รอบ (Cycle) ในขณะที่การชาร์จแบตเตอรี่ Li-on และ Li-Polymer ที่ระดับ 1C และ 2C จะสามารถชาร์จได้มากกว่า 400-500 รอบ (Cycle) ซึ่งสรุปได้ว่าการชาร์จที่ระดับ 1C จะทำให้พลังงานของแบตเตอรี่นั้นมีการสูญเสียพลังงานน้อยที่สุด ซึ่งหมายถึงอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ที่มากขึ้นนั่นเอง

(ในความเป็นจริง การชาร์จในระดับ 2C ดูจะสมเหตุสมผลมากกว่าในระดับ 1C แต่อย่างไรก็ตามควรหลีกเลี่ยงการชาร์จในระดับ 3C เพราะจะทำให้อายุการใช้งานการแบตเตอรี่ลดลงอย่างมาก)

คำแนะนำ: ควรชาร์จแบตเตอรี่ ณ ระดับพลังงาน ที่ 35-60 %


2. จะถอดหรือจะใส่แบตฯ อย่างไรดี ? 

มีคำแนะนำที่ว่า “หากจะไม่ได้มีการใช้โน้ตบุ๊คเป็นระยะเวลานานให้ทำการถอดแบตเตอรี่ออกจากเครื่อง” แต่ก่อนที่จะทำการถอดแบตเตอรี่ออกมาเก็บนั้นอยากจะให้ลองดูตารางด้านบนกันสักนิด

ตารางนี้แสดงถึงการสูญเสียพลังงงานของแบตเตอรี่ในระดับอุณหภูมิต่างๆกัน โดยจากตารางจะเห็นได้ว่าหากทำการเก็บแบตเตอรี่ที่อุณหภูมิปกติ (25 องศาเซลเซียส) แบตเตอรี่ที่มีความจุ 40% จะคลายประจุออกมา 4% หลังจากผ่านไป 1 ปี และยิ่งอุณหภูมิการเก็บสูงขึ้นอัตราการคลายประจุก็มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น

ในขณะที่แบตเตอรี่ที่มีความจุเต็ม 100% จะคลายประจุออกมาถึง 20% หลังจากผ่านไป 1 ปี และหากอุณหภูมิ การเก็บสูงขึ้นอัตราการคลายประจุก็จะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน จึงสรุปได้ว่าหากต้องการถอดและเก็บแบตเตอรี่นั้นควรให้แบตเตอรี่มีความจุ 40% และควรเก็บในสถานที่ที่มีอากาศเย็น และไม่มีความชื้น (ตัวเลข 40% นี้เป็นค่าที่เหมาะสมที่สุดจากการทดลองในห้องแล็ป) ในทางกลับกัน กรณีที่มีการใช้งานโน้ตบุ๊ค การชาร์จแบตเตอรี่ทุกครั้งควรชาร์จให้เต็มความจุของแบตเตอรี่


3. ถ้าเสียบปลั๊กใช้งานควรจะใส่หรือจะถอดแบตฯ ดี ?

ภายในแบตเตอรี่โน้ตบุ๊คนั้นจะมีวงจรไว้สำหรับควบคุมการชาร์จ โดยลักษณะของวงจรชาร์จแบตเตอรี่ที่พบในโน้ตบุ๊คจะมีอยู่ 2 ลักษณะคือ แบบที่ 1 ทำการชาร์จตลอดเวลาแม้ระดับความจุของแบตเตอรี่จะสูงกว่า 90% วงจรแบบนี้จะพบได้ในโน้ตบุ๊ค รุ่นเก่าๆ ส่วนแบบที่ 2 วงจรชาร์จแบตเตอรี่จะทำงานเมื่อระดับความจุของแบตเตอรี่ต่ำกว่า 90-95% (แล้วแต่ยี่ห้อ) โดยโน้ตบุ๊คส่วนใหญ่ในปัจจุบันนั้นจะใช้วงจรแบบที่ 2 นี้ เกือบทั้งหมด

ดังนั้นเมื่อพิจารณาจากวงจรการชาร์จทั้ง 2 แบบ แล้วสรุปได้ว่า หาดโน้ตบุ๊คของคุณเป็นรุ่นที่ใช้แบบเตอรี่ที่มีวงจรการชาร์จแบบที่ 2 แล้ว การเสียบปลั๊กเล่นก็ไม่จำเป็นที่จะต้องถอดแบตออกและจะไม่มีผลกระทบใดๆต่อแบตเตอรี่เพราะวงจรการชาร์จของแบตเตอรี่ยังไม่ได้ทำงาน (ในกรณีที่แบตเตอรี่มีความจุมากกว่า 90-95%) แต่หากแบตเตอรี่มีความจุไม่ถึงระดับ 90-95% แนะนำให้ทำการใช้งานไปจนกว่าความจุของแบตเตอรี่จะลดลงถึงระดับ 2C หรือ 1C แล้วจึงค่อยเสียบปลั๊ก ในกรณีที่โน้ตบุ๊คของท่านเป็นรุ่นที่ใช้แบตเตอรี่ที่มีวงจรการชาร์จแบบที่ 1 (ไม่ตัดการทำงาน) ลองพิจารณาถึงข้อดี-ข้อเสียต่างๆ ดังต่อไปนี้


อย่างไรก็ตามด้วยคุณลักษณะของแบตเตอรี่แบบ Li-on นั้นจะมีการคลายประจุออกมาอยู่แล้วในอัตรา 10 % ต่อ 1 เดือน (ที่อุณหภูมิการใช้งาน) และอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ของโน้ตบุ๊คก็จะไม่เกิน 2-3 ปี แต่หากมีการใช้งานอย่างถูกต้องเหมาะสมก็จะช่วยยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ได้ยาวนานขึ้น

ขอบคุณผู้เรียบเรียงข้อมูลต้นฉบับ (ไม่อาจระบุได้เนื่องจาก อยู่ในรูปของไฟล์ pdf )