1 นำไปใช้งานยังไง
- ผู้ใช้ตามบ้าน ทำงาน หรือเล่นเกมส์ ไม่เน้นการพกพา เน้นพื้นที่การจัดวางมากกว่า ซึ่งต้องการเคลื่อนย้ายสะดวกจากอีกห้องไปอีกห้องหนึ่งภายในบ้าน จุดเด่นคือเรื่อง ความเร็วอาจใกล้เคียงกับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี สามารถทำงานได้หลากหลาย
- นักเรียน นักศึกษา จุดเด่นคือเรื่องการพิมพ์งาน ทำรายงาน ค้นคว้าข้อมูลในอินเตอร์เน็ต ดูหนัง ฟังเพลง ในกลุ่มนี้ เน้นความสะดวกสะบายในการพกพา น้ำหนักเบา ความเร็วไม่มากนัก
- นักเดินทาง พกพา เคลื่อนที่ตลอด ใช้สำหรับนำเสนองาน ทำธุรกิจ สะดวกในการพกพาไปพบลูกค้าเป็นประจำ ประสิทธิภาพควรรองรับการทำงานที่รวดเร็วคล่องตัว น้ำหนักเบา ไม่ควรเกิน 1.8 kg ตัวเครื่องไม่ควรหนามาก แบตเตอรี่ควรใช้ได้ยาวนาน
- นักธุรกิจ วุ่นวายกับงานทั้งวัน กลุ่มสุดท้ายจะเน้นการทำงานได้ทุกที ทั้งที่ออฟฟิต บ้าน ระหว่างเดินทาง ระบบมีความเสถียรภาพสูง เพราะทุกนาทีมีค่า น้ำหนักบางเบาสุดๆ ในกลุ่มนึ้ราคาค่อนข้างจะสูง แบตเตอรี่ควรมีความจุสูงเพราะต้องพร้อมใช้งานทุกเวลา
- การตั้งงบประมาณคงต้องมองจากการนำไปใช้งานเป็นสำคัญ ซี่งน่าจะเป้นตัวบอกราคาของเครื่องที่เราต้องใช้งานไปในตัวอยู่แล้ว หลักๆสามารถแบ่งได้ดังนี้ ราคาธรรมดา 1.5-2 หมึ่นบาท ราคาปานกลาง 2-3 หมี่นบาท และราคาสูงมากกว่า 3 หมึ่นขึ้นไป
- ปัจจุบันเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้ราคาของตัวอุปกรณ์ถูกลงเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพของเครื่องที่สูงและคุ้มค่าที่สุด ควรอย่างยิ่งที่จะต้องตรวจเช็คราคาและสเปคของเครื่องเพื่อเปรียบเทียบหลายๆรุ่นที่ใกล้เคียงกันทุกครั้งก่อนการตัดสินใจซื้อ Notebook และคอมพิวเตอร์
- ไฟเบอร์ (โน๊ตบุ๊คราคาถูกๆทั่วไป)
- พลาสติกเกรดเอ
- คาร์บอน ไฟเบอร์ มีความยืดยุ่น เหนียว ทนแรงกระแทกได้ คุณภาพสูง น้ำหนักเบา (Ferari Acer,Viao)
- แม๊กนีเซียมอัลลอย์ ผิวโลหะ มีความแข็งไม่บุบง่าย แต่จะแตกเลย น้ำหนักจะมากกว่า คาร์บอน ไฟเบอร์ (Toshiba Dell)
- อลูมิเนียม (Benq)
- Polycarbonate (Macbook โครงสร้างแบบ Unibody )
- เป็นเรื่องสุดท้ายที่ต้องคำนึงถึงเช่นกัน โดยส่วนมากสินค้าที่ซื้อถ้ามีปัญหาภายใน 7-15วัน ควรเปลี่ยนได้ทันทีที่ร้าน ส่วนระยะการรับประกันอย่างน้อย 1 ปี ควรเลือกยี่ห้อที่มีศูนย์บริการใกล้บ้านเวลามีปัญหาจะได้สะดวกในการไปส่งศูนย์ ถ้าอยากได้บริการ On-site Service แนะนำของ Dell ครับ ไม่ว่าอยู่ที่ไหนในประเทศไทย ทางศูนย์จะบริการถึงที่จริงๆ
การดูแลรักษาโน๊ตบุ๊ก
- ระบายความร้อนใต้เครื่องให้ดี ไม่ควรวางบนหมอน ควรมีแผงระบายความร้อนใต้เครื่องเวลาใช้งานนานๆ
- ไม่ควรถอดแบตเตอรี่หากไม่จำเป็นจริงๆ เพราะจะทำให้ตัวเครื่องเกิดความเสียหาย และอายุการใช้งานสั้นลง
- เสียบปลั๊กให้ถูกต้อง โดยเสียบปลั๊กไฟก่อนแล้วเสียบอะแดปเตอร์ที่ตัวโน๊ตบุ๊ก และถอดอะแดปเตอร์ที่ตัวโน๊ตบุ๊กก่อน แล้วค่อยถอดปลั๊กไฟออก
- การย้ายเครื่องให้ปิดฝาเครื่องลงก่อน ป้องกันการกระแทก แตกหัก
- ใช้งานพอร์ต USB / PCMCIA ในเครื่องเท่าที่จำเป็น เพื่อป้องกันความร้อน และประหยัดพลังงาน
- ไม่ควรทิ้งแผ่น CD / DVD ไว้ในไดร์ฟ เพราะจะทำให้หัวอ่านเสื่อมไว
- ระวังไม่ให้โน๊ตบุ๊กกระทบกระเทือน ตก หรือกระแทก
- หลีกเลี่ยงการใช้นิ้ว หรือของแข็งสัมผัสหน้าจอ
- ห้ามฉีดน้ำหรือน้ำยาลงบนจอภาพโดยเด็ดขาด ควรฉีดน้ำยาทำความสะอาดลงบนผ้าก่อนนำมาเช็ด
- สำรองข้อมูลเก็บไว้เป็นประจำ
วิธีการดูแลรักษาแบตเตอรี่
- แบตเตอรี่มีความจุในตัวมันเอง และมีอัตราเสื่อมตามอายุการใช้งาน
- แบตเตอรี่แบบลิเทียมไอออนสามารถประจุไฟฟ้าได้เร็ว และสามารถชาร์จไฟได้ตลอดเวลา มีวงจรในการทำงานที่ดีทำให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งานสูง
- อย่าใช้โน๊ตบุ๊กจนแบตเตอรี่ร้อนมาก
- แบตเตอรี่ไม่จำเป็นต้องใช้จนหมดเหลือ 0 % แล้วค่อยชาร์จ
- ไม่ควรถอดแบตเตอรี่ออกจากตัวโน๊ตบุ๊ก
- ไม่ควรวางแบตเตอรี่ตามพื้น หรือในที่เปียกชื้น จะทำให้เสื่อมไวขึ้น
- ในกรณีที่เครื่องเปียกน้ำ หรือน้ำหกใส่ ให้รีบถอดแบตเตอรี่ออกโดยเร็ว
- แบตเตอรี่ที่ใช้งานมานาน บางทีอาจเกิดสนิมหรือขั่วสกปรกสามารถถอดออกมาทำความสะอาดได้